การตรวจวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศเป็นระบบที่มีการใช้พลังงานมาก ดังนั้นจึงควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อให้ประหยัดพลังงานมากที่สุด และเมื่อใช้เครื่องปรับอากาศไปนานๆประสิทธิภาพจะต่ำลง จึงควรพิจารณาเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศใหม่ที่มีประสิทธิภาพพลังงานสูงกว่า อย่างไรก็ตามจะทราบได้อย่างไรว่าเครื่องปรับอากาศตัวเก่ามีประสิทธิภาพเท่าไร ดังนั้นจำเป็นต้องทำการตรวจวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศให้เป็นเสียก่อน
การตรวจวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ Psychrometric Chart ซึ่งแกนบนกราฟนี้มีหลากหลาย แต่ที่จะใช้ในการตรวจวัด ประกอบด้วย 4 แกน ได้แก่ 1.อุณหภูมิกระเปาะแห้ง (Dry-bulb Temperature) 2.อุณหภูมิกระเปาะเปียก (Wet-bulb Temperature) 3.เอนทาลปี (Enthalpy) 4.ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity)
รูปที่ 1 Psychrometric Chart [1]
สิ่งที่ต้องตรวจวัด มีดังนี้
1. พื้นที่หน้าตัดช่องลมออกจากคอยล์เย็น
2. ความเร็วลมที่ออกจากช่องลมคอยล์เย็น
3. อุณหภูมิ/ความชื้นสัมพัทธ์อากาศเข้าคอยล์เย็น
4. อุณหภูมิ/ความชื้นสัมพัทธ์อากาศออกคอยล์เย็น
5. อุณหภูมิอากาศเข้าคอยล์ร้อน
6. กำลังไฟฟ้าเข้าเครื่องปรับอากาศ
เมื่อเก็บข้อมูลแล้ว ให้นำข้อมูลมาคำนวณหาค่าต่างๆ ดังนี้
1. คำนวณหาค่าอัตราการไหลของอากาศ
2. หาค่าเอนทาลปีของอากาศเข้าคอยล์เย็น โดยหาจากการ Plot อุณหภูมิ/ความชื้นสัมพัทธ์ บน Psychrometric Chart
รูปที่ 2 การหาค่าเอนทาลปีของอากาศเข้าคอยล์เย็น
3. หาค่าเอนทาลปีของอากาศออกคอยล์เย็น โดยหาจากการ Plot อุณหภูมิ/ความชื้นสัมพัทธ์ บน Psychrometric Chart
รูปที่ 3 การหาค่าเอนทาลปีของอากาศออกคอยล์เย็น
4. คำนวณความสามารถในการทำความเย็น
5. คำนวณหาประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศ (EER, COP)
เพียงเท่านี้ เราก็สามารถทราบประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศของตัวเองได้แล้ว
หากมีความสนใจให้ ZERO ENERGY ไปอบรมให้ความรู้ในหัวข้อ “การตรวจวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศ (ภาคทฤษฎี + ปฎิบัติ)” ภายในสถานประกอบการของท่าน สามารถดูเนื้อหาหลักสูตรได้ที่เมนู “บริการของเรา” เลือกหัวข้อ “อบรมอนุรักษ์พลังงาน”
เรียบเรียงข้อมูลโดย: ชลทศ ประเทืองสุขพงษ์
อ้างอิง
1. ASHRAE Psychrometric Chart