การตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน ด้วยโปรแกรม BEC
เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการใช้พลังงานสูงขึ้นมาก ดังนั้นกระทรวงพลังงานจึงออกกฎกระทรวง กำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 เพื่อกำหนดให้อาคารที่จะออกแบบก่อสร้างใหม่มีการใช้พลังงานอยู่ในเกณฑ์ตามที่กฎกระทรวงกำหนด
อาคารที่เข้าข่ายต้องออกแบบตามกฎกระทรวง ได้แก่ 1.สถานศึกษา 2.สำนักงาน 3.โรงมหรสพ 4.ศูนย์การค้า 5.สถานบริการ 6.อาคารชุมนุมคน 7.โรงแรม 8.สถานพยาบาล 9.อาคารชุด ที่มีพื้นที่อาคารมากกว่าหรือเท่ากับ 2,000 ตารางเมตร
ระบบที่ต้องประเมินตามกฎกระทรวง ประกอบด้วย
1. ระบบกรอบอาคาร
รูปที่ 1 เกณฑ์ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมผ่านผนังอาคาร OTTV (Overall Thermal Transfer Value) [1]
รูปที่ 2 เกณฑ์ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมผ่านหลังคาอาคาร RTTV (Roof Thermal Transfer Value) [1]
2. ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
รูปที่ 3 เกณฑ์ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง [1]
3. ระบบปรับอากาศ
รูปที่ 4 เกณฑ์เครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก [1]
รูปที่ 5 เกณฑ์เครื่องทำน้ำเย็นชนิดไฟฟ้า [1]
รูปที่ 6 เกณฑ์เครื่องทำน้ำเย็นชนิดดูดกลืน [1]
4. อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน (บังคับผ่าน)
รูปที่ 7 เกณฑ์หม้อไอน้ำและหม้อต้มน้ำร้อน [1]
รูปที่ 8 เกณฑ์เครื่องทำน้ำร้อนชนิด Heat Pump [1]
อย่างไรก็ตามหากข้อ 1-3 มีข้อใดข้อหนึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ ให้พิจารณา ข้อ 5-6
5. ระบบพลังงานหมุนเวียน (การใช้แสงธรรมชาติ และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์)
1. การใช้แสงธรรมชาติ พื้นที่แนวกรอบอาคารที่มีการออกแบบให้สามารถใช้แสงสว่างจากธรรมชาติได้นั้น ให้ถือเสมือนว่าพื้นที่ตามแนวกรอบอาคารดังกล่าว ไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง
2. การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ค่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ สามารถนำมาลบออกจากการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารตลอดทั้งปีได้
6. การใช้พลังงานรวมของอาคาร
การใช้พลังงานโดยรวมของอาคารที่ออกแบบ จะต้องต่ำกว่าค่าการการใช้พลังงานรวมของอาคารอ้างอิง จึงถือว่าแบบอาคารดังกล่าวผ่านเกณฑ์ตามกฎกระทรวงฯ
การคำนวณให้ได้มาซึ่งค่าต่างๆนั้น ค่อนข้างมีความซับซ้อน ดังนั้นเพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการคำนวณ กระทรวงพลังงานจึงได้จัดทำโปรแกรม BEC (Building Energy Code) ขึ้นมา
รูปที่ 9 หน้าเว็บสำหรับ Download โปรแกรม BEC
รูปแบบโครงสร้างของโปรแกรม BEC ประกอบด้วย
1. Database ใช้สำหรับใส่ข้อมูล กรอบอาคาร ระบบแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน และอุปกรณ์อื่นๆ
รูปที่ 10 โครงสร้างโปรแกรมBEC
รูปที่ 11 ข้อมูล Material ที่โปรแกรมมีให้
รูปที่ 12 การใส่ข้อมูลกรอบอาคาร (Component of Section)
รูปที่ 13 การใส่ข้อมูลกรอบอาคาร (Section of Wall)
รูปที่ 14 การใส่ข้อมูลกรอบอาคาร (Wall)
รูปที่ 15 การใส่ข้อมูลระบบไฟฟ้าแสงสว่าง (Lighting Equipment)
รูปที่ 16 การใส่ข้อมูลเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (Spilt Type Air-conditioning System)
รูปที่ 17 การใส่ข้อมูลระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ (Central Air-Conditioning System)
รูปที่ 18 การใส่ข้อมูลระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (PV Equipment)
รูปที่ 19 การใส่ข้อมูลระบบผลิตน้ำร้อน (Hot Water Equipment)
2. Building Zone ใช้สำหรับแบ่งพื้นที่อาคารเป็นโซน และเพื่อนำข้อมูลจาก Database ที่เตรียมไว้ ใส่ในแต่ละโซน
รูปที่ 20 การแบ่งโซนพื้นที่และใส่ข้อมูลลงโซน
3. Report เป็นการวิเคราะห์ผลการคำนวณว่า อาคารดังกล่าวผ่านกฎกระทรวงหรือไม่
รูปที่ 21 Report : ระบบกรอบอาคาร (Envelope System)
รูปที่ 22 Report : ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง (Lighting System)
รูปที่ 23 Report : เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (DX Air-Conditioning Unit)
รูปที่ 24 Report : ระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ (Central Air-Conditioning System)
รูปที่ 25 Report : ระบบผลิตน้ำร้อน (Hot Water System)
รูปที่ 26 Report : การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร (Whole Building Energy)
จะเห็นได้ว่า หากสามารถใช้โปรแกรม BEC ได้อย่างคล่องแคล่ว จะช่วยประหยัดเวลาในการตรวจสอบแบบอาคารว่าผ่านกฎกระทรวงหรือไม่ ไปได้มากทีเดียว
ZERO ENERGY มีเปิดคอสอบรมการประเมินแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานตามกฎกระทรวงดังกล่าว ในชื่อหลักสูตร “การใช้โปรแกรม BEC วิเคราะห์การใช้พลังงานในอาคาร” โดยการฝึกสอนมุ่งเน้นฝึกทำโจทย์เพื่อให้เกิดความเข้าใจทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโปรแกรม โดยจะเริ่มฝึกทำจากโจทย์ง่ายๆ จนไปสู่แบบอาคารจริง สอนโดยทีมวิทยากรที่สอบผ่านหลักสูตรผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ซึ่งท่านสามารถดูเนื้อหาหลักสูตรได้ที่เมนู “บริการของเรา” เลือกหัวข้อ “อบรมอนุรักษ์พลังงาน”
เรียบเรียงข้อมูลโดย: ชลทศ ประเทืองสุขพงษ์
อ้างอิง
1.กฎกระทรวง กำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อ การอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552