ZERO ENERGY ที่ปรึกษาพลังงาน ที่คุณไว้ใจ

  02-428-3817, 080-074-9802

Homeการปรับปรุงอาคารเดิมเป็นอาคารเขียวบทความการปรับปรุงอาคารเดิมเป็นอาคารเขียว

การปรับปรุงอาคารเดิมเป็นอาคารเขียว

การปรับปรุงอาคารเดิมเป็นอาคารเขียว

ประโยชน์ที่ได้รับจากการได้รับรองเป็นอาคารเขียว

1. ประหยัดพลังงาน

2. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคาร

3. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

4. สร้างชื่อเสียงให้แก่อาคารและองค์กร

การปรับปรุงอาคารเดิมเป็นอาคารเขียว (TREES-EB) ทำอย่างไร ?

กณฑ์ขั้นต่ำในการเข้าประเมินเป็นอาคารเขียว (TREES-EB)

ระดับของอาคารเขียว(TREES-EB)

สัดส่วนคะแนนเกณฑ์ประเมินอาคารเขียว(TREES-EB) ในแต่ละหมวด เป็นดังตารางด้านล่าง

หลักสำคัญในการทำคะแนนของเกณฑ์ประเมินอาคารเขียวแต่ละหมวด

หมวด 1 : การบริหารจัดการอาคาร 6 คะแนน (Building Management, BM)

  • ประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาอาคารเดิมให้เป็นอาคารเขียวแก่สาธารณะชนทราบ เช่น ติดป้าย ทำแผ่นพับ ลงเว็บไซต์ เป็นต้น
  • จัดทำคู่มือการใช้งานวิศวกรรมระบบได้แก่ ระบบปรับอากาศ ระบบประปา ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ฯลฯ
  • ประชุมติดตามการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง

หมวด 2 : ผังบริเวณและภูมิทัศน์ 17 คะแนน (Site & Landscape, SL)

  • มีสาธารณูปโภครอบอาคารเพียงพอ เช่น การไฟฟ้า การประปา องค์การโทรศัพท์ เพื่อให้ผู้ใช้อาคารได้รับความสะดวกสบายจากการเดินทาง
  • สามารถลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวของผู้ใช้อาคารได้มากน้อยเพียงใด หากพื้นที่อาคารอยู่ใกล้ระบบขนส่งสาธารณะ ก็สามารถลดจำนวนเที่ยวที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวได้มาก
  • จัดทำพื้นที่สีเขียวภายในพื้นที่โครงการ
  • มีการหน่วงน้ำเมื่อฝนตก ก่อนจะปล่อยสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ
  • จัดทำคู่มือการดูแลภูมิทัศน์อย่างปลอดภัยต่อมนุษย์

หมวดที่ 3 : การประหยัดน้ำ 8 คะแนน (Water Conservation, WC)

  • ออกนโยบายการใช้น้ำอย่างประหยัด
  • ลดการใช้น้ำของสุขภัณฑ์โดยเลือกใช้สุขภัณฑ์ที่ได้ผ่านการรับรองว่าประหยัดน้ำ
  • มีการติดตั้งมาตรวัดน้ำแบบดิจิตอลเพื่อตรวจติดตามการใช้น้ำ

หมวดที่ 4 : พลังงานและบรรยากาศ 27 คะแนน (Energy & Atmosphere, EA)

  • จัดทำมาตรการประหยัดพลังงาน
  • มีการใช้พลังงานทดแทน
  • ยกเลิกการใช้สารทำความเย็นประเภท CFC
  • มีระบบบริหารจัดการอาคาร (Building Management System)
  • การใช้พลังงานของอาคารต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของ Energy Star

หมวดที่ 5 : วัสดุและทรัพยากรธรรมชาติ 17 คะแนน (Materials & Resources, MR)

  • ออกนโยบายการจัดซื้อและจัดการขยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • อาคารให้ความใส่ใจต่อการจัดซื้อสินค้าอุปโกค เครื่องใช้ไฟฟ้า และเฟอร์นิเจอร์ โดยใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • กำจัดขยะจากสินค้าอุปโกค เครื่องใช้ไฟฟ้า และเฟอร์นิเจอร์ อย่างถูกหลักวิธี

หมวดที่ 6 : คุณภาพของสภาพแวดล้อมภายในอาคาร 14 คะแนน (Indoor Environmental Quality, IE)

  • มีการคำนวณปริมาณอากาศระบาย(Ventilation) ตามมาตรฐาน ASHRAE
  • ระบบระบายอากาศ(Ventilation System) สามารถใช้งานได้
  • ดำเนินการตรวจวัดปริมาณอากาศระบายทั้งอาคาร
  • สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้อาคาร
  • ติดตั้งระบบควบคุมแสงสว่าง ทุกพื้นที่ 250 ตารางเมตร

หมวดที่ 7 : การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวด้อม 15 คะแนน (Environment Protection, EP)

  • ไม่ใช้สารประเภท CFC และสารฮาลอนในระบบดับเพลิง
  • ตำแหน่งติดตั้ง CDU เหมาะสม ไม่เป่าอากาศร้อนใส่พื้นที่ข้างเคียงในระยะ 7 เมตร
  • กระจกภายนอกอาคารมีค่าสะท้อนแสงไม่เกิน 15%
  • ผลตรวจคุณภาพระบบบำบัดน้ำเสียผ่านเกณฑ์กฎหมาย
  • ผลตรวจเชื้อลีจิเนลลาของระบบน้ำใน Cooling Tower ผ่านเกณฑ์กฎหมาย

หมวดที่ 8 : นวัตกรรม 6 คะแนน (Green Innovation, GI)

  • ดำเนินการตามหมวด 1-7 ได้ดีกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะได้รับคะแนนพิเศษ [ 5 คะแนน ]
  • มีผู้เชี่ยวชาญอาคารเขียวในโครงการ [ 1 คะแนน ]

เรียบเรียงข้อมูลโดย: ชลทศ ประเทืองสุขพงษ์